ผู้มีสัญชาติไทยขอให้ติดต่อสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบสำหรับการนัดหมายเพื่อขอรับหนังสือเดินทางเล่มใหม่
ค่าธรรมเนียมสำหรับหนังสือเดินทาง (5 ปี) 2,500 รูปี
ค่าธรรมเนียมสำหรับหนังสือเดินทาง (10 ปี) 4,000 รูปี
(สถานะวันที่ 2 ก.ย. 2565)
Thai nationals are requested to contact the Royal Thai Consulate-General in Mumbai for an appointment to obtain a new passport.
The fee for passport issuance (5 years) is Rs. 2,500/-
The fee for passport issuance (10 years) is Rs. 4,000/-
(as of 2 September 2022)
การขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ e-Passport (เล่มแรกหรือเล่มปัจจุบันหมดอายุ)
1. การขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ e-Passport (กรณีเล่มแรก หรือ เล่มปัจจุบันหมดอายุ)
- ท่านจะต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 2283 3535
- การทำ E-passport ต้อง มาด้วยตนเองเท่านั้น กรณีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ถึง 20 ปี) ผู้ปกครองจะต้องมาด้วย
- การขอหนังสือเดินทางใหม่หรือ E-passport ใช้เวลาทำการ 4 ถึง 6 สัปดาห์โดยประมาณ
- ค่าธรรมเนียม (เล่ม 5 ปี) 2,500 รูปี และ (เล่ม 10 ปี) 4,000 รูปี (จ่ายเป็น Demand Draft ในนาม “Royal Thai Consulate-General, Mumbai”)
2. ต้องเตรียมเอกสารอะไรมาบ้าง?
2.1 บุคคลที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
- หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
- สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
2.2 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรส
- หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
- สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
- สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด
- สำเนา ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหน้า Passport ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหน้า บัตรประชาชน ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
2.3 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
- หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
- สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
- สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด
- สำเนา ใบปกครองบุตร หรือ ป.ค. 14 จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหน้า บัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน ของมารดา จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหน้า Passport ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
2.4 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาได้จดทะเบียนหย่าเเล้ว
- หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
- สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
- สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด
- สำเนา ใบหย่า ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
- สำเนา ใบปกครองบุตรหรือ ป.ค. 14 หรือ บันทึกการหย่าที่ระบุผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
- สำเนา หน้าบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน ของผู้ปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหน้า Passport ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
การออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) จะออกตามข้อมูลในทะเบียนราษฎรของผู้ร้องที่ประเทศไทย ทั้งนี้ นามสกุลในหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะตรงกับหลักฐานทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยจะไม่ขึ้นอยู่กับหนังสือเดินทางเล่มเดิม
ถ้าผู้ร้องต้องการให้นามสกุลในหนังสือเดินทางเป็นนามสกุลหลังการสมรส/หย่า จะต้องแก้ไขนามสกุลในทะเบียนราษฎรก่อนที่จะเดินทางมาทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
การขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (E-Passport) กรณีเล่มเดิมสูญหาย
1. การขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (E-Passport) กรณีเล่มเดิมสูญหาย
- ท่านจะต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าที่หมายเลข 2282 3535
- การทำ E-passport ต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น กรณีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ถึง 20 ปี) ผู้ปกครองจะต้องมาด้วย
- บุคคลที่เดินทางมาโดยวีซ่าท่องเที่ยว (Tourist Visa) ไม่สามารถขอ E-passport ใหม่ได้ กรุณาโทรมาสอบถามข้อมูลกับทางสถานกงสุลใหญ่ฯ หากท่านอยู่ในกรณีดังกล่าว
- การขอหนังสือเดินทางใหม่หรือ E-passport ใช้เวลาทำการ 4 ถึง 6 อาทิตย์โดยประมาณ
- ค่าธรรมเนียม (เล่ม 5 ปี) 2,500 รูปี หรือ (เล่ม 10 ปี) 4,000 รูปี (จ่ายเป็น Demand Draft ในนาม “Royal Thai Consulate-General, Mumbai)
2. ต้องเตรียมเอกสารอะไรมาบ้าง?
2.1 บุคคลที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
- สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
- หลักฐาน ใบแจ้งความ จำนวน 1 ชุด
- หลักฐาน ยืนยันการมีวิซ่าอยู่ในสาธารณรัฐอินเดีย อาทิ
- สำเนาหน้าหนังสือเดินทางที่มีวิซ่า
- หลักฐานการศึกษาต่อในสาธารณรัฐอินเดีย ( กรณี Student Visa )
- จดหมายรับรองการจ้างงานจากนายจ้าง ( กรณี Employment Visa )
- หลักฐานการสมรสกับบุคคลสัญชาติอินเดีย
2.2 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรส
- เอกสารในข้อ 3.1
- สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด
- สำเนา ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหน้า Passport ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหน้า บัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
2.3 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
- เอกสารในข้อ 2.1
- สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด
- สำเนา ใบปกครองบุตร หรือ ป.ค. 14 จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหน้า บัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน ของบิดาหรือมารดา จำนวน 1 ชุด
- สำเนา หน้า Passport ของบิดาหรือมารดา จำนวน 1 ชุด
- หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2.3 จะต้องมากรอก แบบฟอร์มบันทึกสอบปากคำ ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เท่านั้น
2.4 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาได้จดทะเบียนหย่าเเล้ว
- เอกสารในข้อ 2.1
- สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด
- สำเนา ใบหย่า ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
- สำเนา ใบปกครองบุตรหรือ ป.ค. 14 หรือ บันทึกการหย่าที่ระบุผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหน้า บัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน ของบิดาหรือมารดา จำนวน 1 ชุด
- สำเนา หน้า Passport ของบิดาหรือมารดา จำนวน 1 ชุด
- หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2.3 จะต้องมากรอก แบบฟอร์มบันทึกสอบปากคำ ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เท่านั้น
การออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) จะออกตามข้อมูลในทะเบียนราษฎรของผู้ร้องที่ประเทศไทย ทั้งนี้ นามสกุลในหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะตรงกับหลักฐานทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยจะไม่ขึ้นอยู่กับหนังสือเดินทางเล่มเดิม
การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่หรือ E-passport ไม่สามารถดำเนินการทางไปรษณีย์ได้
* * * * * * * * * *